วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

Food of ASEAN

ASEAN


        ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ หากจะถามว่าอะไรที่กำลังเป็นที่พูดถึงและกำลังสร้างความสนใจให้กับทุกคน เรื่องหนึ่งที่นึกได้และมั่นใจแน่นอนว่าทุกคนจะต้องรู้จัก ก็คือ อาเซียน
    
        อาเซียน หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย 
ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย 
        -นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)  
        -ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)  
        -นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) 
        - นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) 
        -พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
        
        ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
        
        วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

        เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ทางผู้เขียนจึงขออนุญาตให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนในเรื่องของอาหารยอดนิยมของแต่ละประเทศในอาเซียน เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจได้รับความรู้ต่อๆไป



Food of ASEAN

ประเทศไทย(Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)


        ต้มยำกุ้ง (TomYum Goong) เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาว ต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่นๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย

          ต้มยำกุ้งเป็นอาหารคาวที่เหมาะสำหรับรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ กลิ่นหอมของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในต้มยำกุ้ง นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี

ส่วนผสม
1.กุ้งแม่น้ำ
2.เห็ดฟาง
3.ตะไคร้หั่น
4.ข่าหั่นแว่น
5.รากผักชี
6.ใบมะกรูดแก่
7.น้ำซุป
8.พริกขี้หนูสวนบุบพอแตก 10-15 เม็ด
9.น้ำปลา
10.น้ำมะนาว
11.ผักชี


วิธีทำ
1. ล้างกุ้งให้สะอาด แกะเปลือกกุ้ง แยกเปลือก มันกุ้ง และตัวกุ้งไว้
2. ต้มน้ำให้เดือด ใส่เปลือกกุ้งลงต้มให้เดือด
3. นำมันกุ้งผัดกับน้ำมันเล็กน้อยพักไว้ นำกุ้งผ่าหลังเอาเส้นดำออก
4. ต้มน้ำซุปให้เดือด ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี
5. ใส่เห็ดพอเดือด ใส่ใบมะกรูด ใส่กุ้ง มันกุ้งที่ผัดไว้ พอกุ้งสุก ปิดไฟ
6. ตักใส่ชามสำหรับเสิร์ฟ ใส่พริกขี้หนู น้ำปลา มะนาว คนให้เข้ากันโรยด้วยผักชี




ประเทศมาเลเซีย(Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)


        นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาซิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิมจะห่อในใบตอง และรับประทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย

ส่วนประกอบ (ข้าว)
  1. กะทิ
  2. ใบเตย 4-5 ใบ
  3. ขิงทุบพอแหลก-เกลือ
  4. ข้าวสาร
วิธีหุงข้าว
  1. ตวงข้าว เตรียมหุงข้าวสวย ใส่น้ำแบบหุงข้าวธรรมดา 
  2. เติมกะทิลงในข้าวที่ซาวและเติมน้ำเรียบร้อยแล้ว  ใส่ใบเตยกับขิงที่ทุบแล้วลงไปเพื่อให้ข้าวที่หุงเสร็จมีกลิ่นหอม
เครื่องเคียงที่ทานกับข้าว
  1. ถั่วกับปลาทอดกรอบ
  2. ไข่ทอด หรือ ไข่ต้ม
  3. ปีกไก่ทอด
  4. otaha (ออตา) ไม่มีไม่ต้องใส่คะ
  5. ปลาทูสด ทอด
  6. แตงกวา (บีบมะนาวใส่ 1ลูก ตัดด้วยน้ำตาล เกลือนิด)
ส่วนประกอบเครื่องพริกแกง
  1. samba 1กะปุก (ใส่ตามความชอบ หรือจะใส่ราดข้าวเลยก็ได้)
  2. กุ้งแห้ง 80 กรัม (แช่น้ำ)
  3. มะขามเปียกแช่น้ำ 70 กรัม
  4. น้ำตาล 2 ชต.
  5. หอมแดง 4-6 หัว
  6. สตอ 1/4 ของแพ๊ค
  7. กุ้ง, ปลาหมึก, ไก่
  8. น้ำมันพืช 1 ทัพพี
วิธีทำ
  1. นำกุ้งที่แห้งไปตำให้ละเอียด (ใช่เครื่องปั่นได้)
  2. ตั้งกะทะใส่น้ำมันพืช ลงไปพอร้อนแล้วเอากุ้งที่ปั่นแล้วลงผัด ตามด้วย samba
  3. ผัดให้เข้ากันดี แล้วเติมน้ำมะขามเปียก ผัดจนเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. ใส่หอมหัวใหญ่ที่หั่นลงกะทะ แล้วเติมน้ำนิดหน่อย พอให้คลุกคลิก
  5. พอกุ้งเริ่มสุก ก็ปรุงรสด้วยน้ำตาล ผัดให้น้ำตาลละลาย
  6. ตักราดข้าว พร้อมรับประทาน



ประเทศสิงคโปร์ (Singapore) : ลักซา (Laksa)


        ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ มีลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเก็ตตี้ของอิตาลี โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า  
ส่วนผสม
1.      เส้นขนมจีน
2.      ปลาทูสด
3.      กะปิ
4.      หอมเล็กปอกเปลือก
5.      พริกชี้ฟ้าแห้งแช่น้ำบดละเอียด
6.      ส้มแขกฝานบางตากแห้ง
7.      ผักแพวสับหยาบทั้งก้าน
8.      ดอกขิงป่าหรือดอกดาหลาตูมฝ่าครึ่ง
9.      น้ำตาลทราย
10.  น้ำสำหรับต้มปลา
11.  เกลือทะเลเม็ดใหญ่สำหรับต้มปลาและปรุงรส

เครื่องเคียง 
  1. แตงกวาหั่น 
  2. ผักกาดหอมหั่น 
  3. สับปะรดหวานหั่นชิ้นลูกเต๋า 
  4. พริกขี้หนูซอย
  5. ใบสะระแหน่ 
  6. กลีบดอกดาหลาซอย 
  7. ไข่ต้ม 
  8. มะนาวซีก
วิธีทำ 
  1. ต้มน้ำให้เดือด 
  2. ใส่ส้มแขกแห้ง 3 ชิ้นและเกลือลงไป รอซักพัก ใส่ปลาลงไปต้มจนสุก 
  3. ตักปลาขึ้นมาแกะ เอาแต่เนื้อ นำน้ำต้มปลาไปกรองเอาแต่น้ำ เทใส่หม้ออีกใบ พักไว้
  4. ปั่นเนื้อปลาทูสุก น้ำต้มปลาเล็กน้อย กะปิ หอมเล็กและพริกชี้ฟ้าแห้ง รวมกันจนทุกอย่างเข้าที่ เทใส่ลงในหม้อน้ำต้มปลา แล้วยกขึ้นตั้งไฟกลางรอจนเดือด
  5. จากนั้นใส่ส้มแขกแห้งที่เหลือ ดอกขิงป่า ผักแพว ปรุงรสด้วยเกลือทะเลและน้ำตาลทรายชิมให้ได้รสชาดเปรี้ยวนำเค็ม แต่อย่าให้รสจัดมากและอย่าให้หวาน ปิดไฟจัดเส้นขนมจีนใส่ถ้วย
  6. เคียงด้วยเครื่องเคียงต่างๆ ก่อนราดน้ำลักซาลงไป 

หมายเหตุ หากไม่มีส้มแขกฝานบางตากแห้ง ให้ใช้น้ำมะขามเปียกแทน ในขั้นตอนการเต็มปลา
ให้ใช้น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ



ประเทศลาว (Laos) : ซุบไก่ (Chicken Soup)



        ซุปไก่ (Chicken Soup) เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหารคือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้อาหารลาวส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุงรส 

เครื่องปรุง


  1. ปีกไก่
  2. มะเขือเทศ
  3. หัวหอมใหญ่
  4. มันฝรั่ง
  5. ซุปไก่ก้อน
  6. เกลือป่น
  7. น้ำตาลทราย
  8. ซีอิ้วขาว
  9. ซอสปรุงรส
  10. น้ำเปล่า
วิธีทำ
1. ปลอกเปลือกหัวหอมใหญ่ นำไปล้างให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้น พักไว้
2. เปลือกเปลือกมันฝรั่ง นำไปล้างน้ำให้สะอาดพร้อมมะเขือเทศ สะเด็ดน้ำแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ
3. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อ ใส่ซุปไก่ก้อนลงไป พอน้ำเดือดแล้วให้นำหัวหอมใหญ่ที่หั่นไว้ใส่ลงไป
4. รอจนน้ำเดือดอีกครั้ง ใส่ปีกไก่ลงไป แล้วตามด้วยมันฝรั่งและมะเขือเทศที่หั่นเอาไว้
5. ลดไฟเป็นไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน เคี่ยวไปประมาณ 30 นาทีจึงปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆ และคนให้เข้ากัน
6. เคี่ยวต่อด้วยไฟอ่อนอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างนั้นคอยช้อนฟองออกเรื่อยๆ จะได้น้ำแกงที่ใส

 


ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) : กาโด กาโด (Gado Gado)




        กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย คล้ายกับสลัดแขกซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ

          อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง


ส่วนผสม 

ส่วนผสมน้ำราด 

  1. พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำให้นิ่ม 10-15 เม็ด         

  2. ข่าอ่อน    

  3. รากผักชี 2-3 ราก 

  4. หอมแดงปอกเปลือก 

  5. กระเทียมปอกเปลือก         

  6. ตะไคร้ซอย

  7. หัวกะทิ 1 ถ้วย         

  8. หางกะทิ 1 ถ้วย         

  9. ถั่วลิสงคั่ว ป่น

เครื่องปรุง     น้ำตาล      เกลือ      น้ำมะขามเปียก

ส่วนผสมสลัด

  1. เต้าหู้แข็งหั่นเป็นชิ้นบางๆ 1 แผ่น
  2. ไข่ต้ม 2 ฟอง
  3. ถั่วงอก
  4. บร็อคโคลี่
  5. แครอท
  6. เห็ดฟาง
  7. ข้าวโพดอ่อน
  8. กะหล่ำปลี
  9. ผักกาดหอม

วิธีทำ
1. นำพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่าอ่อน รากผักชี ตะไคร้ ถ้ากลัวจะฝืดก็เติมกะทิเล็กน้อย แล้วปั่นให้ละเอียด
2. เอาน้ำพริกที่ลงกระทะไว้ ผัดไฟแรง พอเริ่มแตกมันก็ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ แล้วก็น้ำมะขามเปียก แล้วใส่ถั่วลิสงคั่วป่นลงไป พอเดือดอีกทีก็ปิดไฟได้
3. ทอดเต้าหู้เตรียมไว้แล้วลวกผักทั้งหมดตามลำดับ กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ แครอท ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง ในน้ำอีกหม้อนึงลวกถั่วงอก
4. เรียงผักใส่จานให้สวยงาม วางไข่ต้มผ่า
5. ราดน้ำแล้วรับประทานทันที


ที่มา http://annyindy.blogspot.com/2012/09/10-15-7-8-2-3-7-8-7-8-2-3-1-1-1-2-1.html



ประเทศกัมพูชา (Cambodia) : อาม็อก (Amok)




        อาม็อก (Amok) มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย ทำจากปลา น้ำพริกเครื่องแกงและกะทิ อาม็อกเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของกัมพูชา โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ 
          ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง



ส่วนผสม : ไข่ไก่, กะทิสด, พริกแกง, ใบยอ, ปลาน้ำจืด, พริก, ใบมะกรูดหั่นฝอย, เกลือ, น้ำตาล, กระทงสี่มุม, ข้าวสวย, หอมซอย

วิธีทำ   
          1. นำพริกแกง กะทิ และไข่ไก่ คนให้เข้ากัน
          2. ใส่เครื่องปรุงรสลงในภาชนะผสมแล้วคนให้เข้ากัน
          3. ใส่เนื้อปลาน้ำจืดหัดเป็นชิ้นพอคำลงไปผสม
          4. นำใบยอใส่ลงที่กระทงสี่มุมที่เตรียมไว้
          5. ตักส่วนผสมที่เข้ากันดีแล้วลงในกระทง นึ่งด้วยความร้อนประมาณ ๑๐ นาที หรือจนสุก
          6. ตกแต่งโดยราดหัวกระทิเคียวสุกและพริกแดงให้สวยงาม
          7. เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อน โรยด้วยหอมซอย



ที่มา http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=24684&filename=index


ประเทศบรูไน (Brunei) : อัมบูยัต (Ambuyat)



        อัมบูยั (Ambuyat) จัดเป็นอาหารประจำชาติที่มีชื่อเสียงที่สุดของบรูไน  ดารุสซาลาม มีลักษณะคล้ายกับข้าวต้มหรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาลีเป็นหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว โดยทั่วไปอัมบูยัต คือ อาหารที่รับประทานแทนข้าว โดยจะอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่างวางอยู่โดยรอบ เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดีที่สุด


ส่วนผสม  แป้งสาคู, น้ำร้อนต้มสด, น้ำ

ส่วนผสมปลาทอด  ปลาสีขาว, หอมแดง, กระเทียม, ขมิ้นสดโขลกหยาบ, ขิงกรัม, พริกตา, ตะไคร้บด, มะขามแห้ง, น้ำ (2 . ถ้วย) 

ส่วนผสมเครื่องเคียง : หน่อ Paku ทำความสะอาดและดึง, เกลือ, น้ำมันพืช , หอมแดง, กระเทียมโขลก, กุ้ง, น้ำ, พริกแดง (หั่น) สำหรับการตกแต่ง

วิธีทำแป้ง : ผสมน้ำร้อนกับแป้งสาคู 4 ถ้วยน้ำนาน 10 นาที แล้วจึงเทน้ำส่วนเกินทิ้ง  

วิธีทำปลา : ทำความสะอาดปลาและหั่นเป็นชิ้น นำส่วนผสมอื่นๆ ผัดเข้าด้วยกันและนำปลามาคลุกเคล้าจนสุก

วิธีทำเครื่องเคียง : ผัดส่วนผสมที่โขลกอย่างดีในน้ำมันที่ร้อนจนหอม เพิ่มเกลือน้ำตกแต่งด้วยพริกแดง

วิธีการทำ : เทนำร้อนลงบนแป้งสาคูที่อยู่ในหม้อแบบมีด้ามจับ

วิธีรับประทาน : ใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบ ๆแล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อน ๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว

อาหารจานเคียง : ได้แก่ ผัก ผักสด และปลา



ที่มา http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=24628





ประเทศเวียดนาม (Vietnam) : เปาะเป๊ยะเวียดนาม (Nem)


         Nem หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นปอเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้ปอเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่างๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม

           ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ที่การนำแผ่นแป้งซึ่งทำจากข้าวจ้าวมาห่อไส้ ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนำมารวมกับผักสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และนำมารับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน โดยจะมีถั่วคั่ว แครอทซอย ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอื่นเพิ่มด้วย 



วัตถุดิบ
1. ใบเมี่ยงเวียดนาม (แผ่นแป้งห่อ พรมน้ำในนิ่ม)
2. หมูยอ (หั่นตามยามเป็นชิ้นบาง)
3. กุ้งลวก (ผ่าครึ่ง)
4. ใบโหระพา (เด็ดเป็นใบๆ)
5. ใบสะระแหน่ (เด็ดเป็นใบๆ)
6. ผักกาดหอม (เด็ดเป็นใบๆ ตัดส่วนก้านออก)
7. ผักชีฝรั่ง 6-12 ใบ
8. แครอทซอยเป็นเส้น 1/2 ถ้วย

น้ำจิ้ม 
1. น้ำส้มสายชู 1/4 ถ้วย
2. น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
3. เกลือ 1/2 ช้อนชา
4. น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ
5. พริกชี้ฟ้าแดง (โขลก) 1 ช้อนโต๊ะ
6. กระเทียม (โขลก) 1 ช้อนโต๊ะ
7. แครอท (ขูดฝอย) 1/4 ถ้วย
8. หัวไชเท้า (ขูดฝอย) 1/4 ถ้วย

วิธีทำ
1. หม้อใส่น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย เกลือ น้ำ ตั้งไฟเคี่ยวพอข้น (ไม่เหนียว) ใส่พริกชี้ฟ้าแดง กระเทียมโขลก แครรอท ไชเท้าเส้น ปิดไฟ ใส่ภาชนะพักไว้
2. ถาดวางใบเมี่ยงญวน (พรมน้ำให้นิ่ม) ใส่ผักกาดหอม ใบโหระพา ใบสาระแหน ผักชีฝรั่ง แครอทซอย (ขนมจีน) หมูยอ กุ้ง ห่อให้เน่นๆ

3. จัดให้สวยงาม พร้อมรับประทาน



ที่มา http://annyindy.blogspot.com/2012/09/40-2-4-1.html



ประเทศพม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet)




        หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารประจำชาติของเมียนมาร์ที่มีลักษณะคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น ซึ่งหล่าเพ็ดนี้จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว



เครื่องปรุงและวิธีการปรุง

  1. กระเทียมเจียว
  2. กะโหลกมะพร้าว
  3. กุ้งแห้ง มะม่วงหิม
  4. พานต์ใบชะพลู งา
  5. ขาว ถั่วเหลือง
  6. ขิงหอมแดง
  7. มะขามเปียก
  8. น้ําตาลทรายขาว

วิธีทำ

  1. คั่วมะม่วงหิมพานต์ดิบ ประมาณ 7-8 นาที
  2. คั่วกุ้งแห้งประมาณ 5 นาที
  3. ล้างใบชะพลูและเด็ดให้ติดก้านใบ
  4. คั่วงาขาวเนื้อกระโหลดมะพร้าวหั่นฝอย และถั่วเหลืองให้พอกรอบ
  5. ต้มน้ําตาลกับน้ํามะขามเปียกให้ข้นพอประมาณ
  6. คั่วหอมแดงด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 5 นาที
  7. ใช้ใบชะพลู ห่อส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันและราดด้วยน้ําเชื่อมผสมหัวหอมแดงและกระเทียมเจียว
  8. จัดใส่จาน พร้อมรับประทาน

ที่มา http://annyindy.blogspot.com/2012/09/blog-post_19.html





ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)


        อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์ และเป็นที่นิยมของนักเดินทางหรือนักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

         ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง เนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา


ส่วนประกอบ

  1. น้ำมันรำข้าว
  2. สะโพกไก่ 
  3. ซีอิ้วขาว  
  4. น้ำส้มสายชู  
  5. น้ำเปล่า  
  6. หอมหัวใหญ่สับ
  7. กระเทียมบุบ 
  8. ใบกระวาน  
  9. เม็ดพริกไทยขาว  
  10. ขิง   
  11. น้ำตาลทราย  

วิธีทำ
1. ใส่น้ำมันรำข้าวลงในกระทะ พอร้อนดี ก็นำไก่ลงไปจี่ให้ด้านนอกสุกเล็กน้อย
2. เติมซีอิ้วขาว น้ำส้มสายชู น้ำเปล่า หอมใหญ่สับ กระเทียม ใบกระวาน พริกไทยขาว และขิงลงไป เคี่ยวประมาณ 30 นาที จนไก่นุ่ม และน้ำลดลง
3. ตัดรสด้วยน้ำตาลทรายเล็กน้อย ก่อนยกออกจากความร้อน เสิร์ฟรับประทานกับข้าว

หมายเหตุ อโดโบ้สูตรต้นตำรับ จะไม่ใส่น้ำตาล



ที่มา http://annyindy.blogspot.com/2012/09/blog-post_3311.html




ผู้เขียนและเรียบเรียง : sortlpk604
วันที่ 19 มกราคา 2556

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
Google.com